แก๊งปลาไหล “Garden eels” (แต่ละตัวยาว 1.2 เมตร)


รู้จักเหล่า “Garden eels” (ฝูงปลาไหล) ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นแก๊ง (แต่ละตัวยาว 1.2 เมตร) ลึกลงไป 40 เมตร ใต้มหาสมุทรอินโด-แปซิฟิกและน่านน้ำเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติก คือที่อยู่อาศัยของฝูง “ปลาไหลสวน” (Garden Eels) ชื่อวิทยาศาสตร์ Heterocongrinae ที่มาของชื่อมาจากการที่พวกมันชอบอยู่รวมตัวกันมากนับร้อยไปจนถึงหลายพันตัว และปักตัวลงบนพื้นทรายจนดูเหมือนสวนพืชใต้ทะเลยังไงยังงั้น

พวกมันเป็นปลาไหลที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาไหลชนิดอื่น ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำตัวคือ 1.27 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งขนาดตัวที่หายไปมันถูกแทนที่ด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง โดยพวกมันจะใช้หางขุดพื้นทรายและทำการฝัง 3 ใน 4 ของร่างกายลงไปใต้ทราย จากนั้นจะทำการปล่อยเมือกเหนียวหนึบทำหน้าที่คล้ายปูนซีเมนต์ ยึดร่างไว้กับพื้นทราย ซึ่งเมือกของมันมีความเหนียวมากพอจะต้านทานกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวใต้ห้องมหาสมุทรได้แบบสบาย ๆ 

แล้วแบบนี้มันจะไม่ถูกล่าเอาง่าย ๆ เหรอ ? ตอบ : ถึงเมือกจะมีความเหนียวมาก แต่กล้ามเนื้อของมันก็แข็งแรงมากพอ ที่จะทะลายความเหนียวของเมือกตัวเองได้ทันทีเมื่อมีศัตรูเข้าใกล้ โดยพวกมันจะถอนหางของตัวเองออกจากรูและมุดไปซ่อนตัวใต้พื้นทราย เมื่อศัตรูจากไปมันจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาอีกที

ซึ่งหากเป็นไปได้พวกมันแทบจะไม่ถอนตัวออกจากรูของตัวเองเลย อย่างเช่นตัวเมียมักจะปักหลักอยู่ที่รูเดิมตลอดชีวิต (หากไม่ถูกคุกคาม) แต่ตัวผู้จะถอนตัวออกจากรูเมื่อถึงฤดูวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายไปปักตัวเองอยู่ใกล้กับตัวเมียและทำการผสมพันธุ์กันผ่านร่างกายครึ่งบน เมื่อเสร็จภารกิจ ตัวเมียจะปล่อยไข่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ซึ่งตัวอ่อนที่ออกมาจะต้องใช้เวลาราว 1-2 เดือนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะปักร่างกายลงพื้นทราย

ทั้งนี้ ปกติแล้วปลาไหลสวนจะมีความยาวไม่เกิน 60 เซนติเมตร แต่สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดสามารถยาวได้มากถึง 120 เซนติเมตรเลยทีเดียว และสำหรับสาเหตุที่มันต้องปักตัวเองลงพื้นในกระแสน้ำเชี่ยว เพราะอาหารของปลาไหลสวนคือแพลงก์ตอนสัตว์  โดยพวกมันอาศัยกระแสน้ำพัดแพลงก์ตอนเหล่านั้นให้มาเข้าปากนั่นเอง

นอกจากนี้ พวกมันเป็นสัตว์ที่ขี้ระแวง ขี้สงสัย และขี้อายสุด ๆ ตัวอย่างเช่น ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซูมิดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ปิดให้บริการนานหลายเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการหายไปของผู้คนนับร้อย ทำให้เหล่าปลาไหลสวนเริ่มไม่ชินกับมนุษย์ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เจ้าหน้าที่เดินผ่านพวกมันมักจะมุดตัวหนีไปอยู่ใต้ทรายเป็นประจำ ซึ่งปัญหานี้ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ได้ออกไอเดีย “FaceTime” กับนักท่องเที่ยวผ่านแท็บเล็ตหลาย ๆ เครื่องและส่องไปที่ตู้ของปลาไหลสวนเป็นประจำเพื่อสร้างความคุ้นชินนั่นเอง

Fact – ทุก ๆ ปี “ปลาไหลยุโรป” (European eels) จะเดินทางไกลกว่า 5,000 กิโลเมตร (นี่ยังไม่รวมระยะทางที่ต้องว่ายกลับ) เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งระหว่างทางพวกมันจะไม่กินอาหารเลย แต่จะย่อยกระดูกตัวเองเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานระหว่างทาง

Post a Comment

[blogger]

MKRdezign

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget