ณ ทะเลทรายซาฮารา ในเขตประเทศมอริเตเนีย เป็นที่ตั้งของ “ดวงตาสีฟ้าแห่งซาฮารา” (The Blue Eye Of The Sahara) หรืออีกชื่อที่ชาวท้องถิ่นเรียกว่า Guelb er Richat (เกิร์บ-เออร์-ริแคท) แต่ชื่อทางการจริง ๆ คือ “Richat Structure” ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 100 ล้านปีก่อน
แต่มีเพียงสมาชิกของชนเผ่านอแมดิก (Nomadic Tribes – ชนเผ่าเร่ร่อนกลางทะเลทราย) ไม่กี่คนเท่านั้นที่ทราบถึงการมีอยู่ของสถานที่แห่งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 40 กิโลเมตร จึงยากที่คนบนพื้นราบจะเห็นได้ ทำให้ต้องมองลงมาจากมุมสูงเท่านั้นจึงจะสามารถสังเกตเห็น
สถานที่แห่งนี้ถูกประกาศค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1965 จากภาพถ่ายของยานอวกาศเจมินี (Gemini) ระหว่างโคจรรอบโลก ซึ่งนักวิจัยเคยเชื่อว่าเกิดจากการพุ่งชนของอุกบาตเมื่อ 100 ล้านปีก่อน แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมทำให้ทราบว่า แท้จริงแล้วมันคือกระบวนการทางธรณีวิทยาบนโลกเรานี่แหละ ดังนี้
เกิดจากมหาทวีปแพนเจียร์ (แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันกับทุกทวีปในปัจจุบัน) แยกตัวออกจากกัน – ทำให้ลาวาในชั้นเนื้อโลกเกิดการประทุใ – จากนั้นพื้นทวีปจึงยกตัวสูงขึ้นจากแรงระเบิด – ลาวาไหลออกจนหมด – จนเกิดเป็นช่องว่างใต้เปลือกโลก – และค่อย ๆ ยุบตัวลงเกิดเป็นหลุมยุบวงกลมขนาดใหญ่อย่างที่เห็น (และสำหรับสีฟ้าที่ทำให้หลุมนี้ดูคล้ายกับดวงตา – เกิดจากน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลเข้ามานั่นเอง)
ปัจจุบันดวงตาแห่งซาฮารากลายเป็นสถานที่ชื่อดังดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักธรณีวิทยา ที่ต้องการเดินทางมาศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่แปลกประหลาด นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก นักวิจัยคาดว่าในอนาคตดวงตาแห่งซาฮาราจะต้องถูกทะเลทรายกลบทับจนหายไปแน่นอน เนื่องจาก “เนินทรายในซาฮาราสามารถเคลื่อนที่ได้” โดยอาศัยแรงลมในทะเลทราย มีอัตราเคลื่อนที่เฉลี่ยปีละ 10 เมตร หรือหากวันไหนเกิดพายุก็อาจเคลื่อนที่ไกลถึง 20 เมตรภายใน 1 วันเลยทีเดียว
สรุป – การเกิดขึ้นของดวงตาแห่งซาฮารา สามารถอธิบายเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ – คล้ายกับหลักการเกิดสิว – ที่เกิดจากใต้ผิวหนังสะสมไขมันจนอักเสบบวมขึ้น – และเมื่อกดสิวไขมันก็จะออกตามทำให้เกิดช่องว่าง – จากนั้นสิวก็จะยุบลงบางครั้งก็กลายเป็นแผลเป็นทิ้งร่องรอยไว้นั่นเอง
Post a Comment