หลายคนคงไม่รู้มาก่อนว่าบนใบหน้าเรามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ นั่นคือ “ดีโมเด็กซ์” (Demodex) พวกมันเป็น “ไร” ตัวจิ๋ว มี 8 ขา ขนาดเล็กตัวมาก (0.3 มิลลิเมตร) ลำตัวยาวเหมือนหนอน เป็นญาติกับแมงมุมและปู มี 2 สายพันธุ์ คือ Demodex Folliculorum และ D.brevis
โดยถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 1842 บนขี้หูของชายชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง และเมื่อศึกษากับผู้คนทั่วไปอีกกว่า 100 คน ก็พบว่าทุกคนล้วนแต่มีไรดีโมเด็กซ์อยู่ทั้งสิ้น นั่นมีแนวโน้มว่าเราเองก็มีเจ้าไรตัวนี้อยู่ด้วยเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วพวกมันจะอาศัยอยู่บริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันบนใบหน้าเสียมากกว่า โดยเฉลี่ยมนุษย์จะมีไรดีโมเด็กซ์ราว 1,000 ตัวต่อคน
ว่าแต่พวกมันทำอะไรอยู่ตรงนั้นบ้าง ? คำตอบ : เมแกน ธอมเมสส์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ระบุว่า วงจรชีวิตของพวกมันตั้งแต่เกิด – ผสมพันธุ์ – วางไข่ – ขับถ่าย – ตาย – และย่อยสลาย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนร่างกายของเราทั้งสิ้น และสาเหตุที่พวกมันชอบอยู่บริเวณใบหน้าเพราะรูขุมขนกว้าง ซึ่งรูขุมขนนั้นเปรียบเสมือนบ่ออาหารบุฟเฟต์ที่มีไขมันถูกเติมอย่างไม่มีวันหมดสิ้นนั่นเอง
และแม้จะดูน่ากลัวแต่ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวล เพราะการมีดีโมเด็กซ์ไม่ได้เป็นอันตราย แต่ยังเป็นประโยชนด์เสียด้วยซ้ำ เพราะนอกจากพวกมันจะกินไขมันบนใบหน้าเราแล้ว ยังช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วรวมถึงแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังชั้นนอกของเราด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม หากมีจำนวนไรดีโมเด็กซ์บนหน้ามากเกินไปก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน เนื่องจากพวกมันจะรุมกินไขมันจนหมดเกลี้ยง จนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดผื่นแดงได้ ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคขี้เรื้อนเปียก (Demodicosis) โดยอาการจะมีลักษณะคล้ายผื่นแดงทั่วไปแต่รุนแรงกว่า (ตามภาพด้านล่าง)
ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุแน่ชัดว่า เจ้าไรเดโมเด็กซ์นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากไหนกันแน่ ? เพราะไม่พบพวกมันในเด็กแรกเกิด แต่จะพบเมื่อโตขึ้นแล้วเท่านั้น แต่จากการสันนิษฐานคาดว่า น่าจะมาจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งหากคุณอยากกำจัดพวกมันออกไปจริง ๆ ก็เพียงแค่ล้างหน้าให้สะอาด เจ้าไรพวกนี้ก็จะหลุดออกหมดแล้วครับ (แต่ก็เป็นการกำจัดได้เพียงชั่วคราว เพราะพวกมันมีอยู่ทุกหนทุกแห่งยากที่จะหลีกเลี่ยงและเมื่อใดก็ตามที่หน้าคุณมัน พวกมันก็จะกลับมาอีกแน่นอน)
Fact – สำหรับ “โรคไรขี้เรื้อนเปียก” (Demodicosis) มีอาการรุนแรงดังนี้ 1.ผมร่วง 2.คันหน้ารุนแรง 3.ผิวอักเสบ 4.ปวดตา ซึ่งรักษาได้ด้วยการนใช้ยาฆ่าเชื้อและการขูดผิวทำความสะอาดผิวหน้า โดยผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงครีมล้างหน้าหรือเครื่องสำอางค์ที่มีส่วนประกอบของไขมัน เพื่อลดการแพร่กระจายของตัวไรเดโมเด็กซ์
Post a Comment