“มดซาฟารี” มดอันตรายที่สุดในโลก


รู้จักกับ “มดซาฟารี” (Safari Ant) ชื่อวิทยาศาสตร์ Dorylus Gribodoi ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ถูกจัดให้เป็นมดอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากพวกมันมีแรงกัดที่มหาศาลจากขากรรไกรสุดแข็งแกร่ง และมักอยู่รวมกันเป็นฝูงไม่ต่ำกว่า 50 ล้านตัว สามารถรุมปลิดชีพสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่าได้แบบสบาย ๆ(กำจัดเหยื่อได้ใน 24 ชม.)

อลัน แอนเดอร์เซน นักกีฏวิทยาจาก CSIRO ระบุว่า “พวกมันเปรียบเสมือนกองทัพทหารผู้หิวโหย ที่เดินทางหาอาหารตลอดเวลา ไม่สร้างรังถาวรเหมือนมดชนิดอื่น โดยจะสร้างเพียงรังชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งนอกจากจำนวนที่มากแล้ว มดชนิดนี้ยังมีนิสัยก้าวร้าวสุด ๆ สามารถเข้าโจมตีสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ขวางทางและนำมาเป็นอาหารได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม”

โดยปกติอาหารหลักของกองทัพนี้ คือหนอน แมงมุม และแมงป่อง แต่ขณะเดียวกันพวกมันก็สามารถกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้เช่นกัน ทั้งหนู หมู หมา แมว ซึ่งความจริงแล้วพวกมันสามารถฆ่าและกินสัตว์บนโลกนี้ได้แทบทุกชนิด เพราะแม้แต่มนุษย์ที่ขึ้นชื่อว่าอยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ก็ยังถูกพวกมันล่าได้เช่นกัน (ลองนึกถึงการโดนมด 50 ล้านตัวรุมกัดสิ)

ซึ่งสกิลการล่าของมันเปรียบเสมือนปิรันยาบนบก เพราะสามารถจัดการซากเหยื่อขนาดเล็กได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง หรือแม้แต่เหยื่อขนาดใหญ่อย่างหนู หรืองู กองทัพนี้ก็สามารถกวาดซากเนื้อให้เหลือแต่กระดูกได้ภายใน 24 ชั่วโมง (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเหยื่อ)

อย่างไรก็ตาม แม้จะอันตรายแต่ชาวมาไซ (Maasai) ชนพื้นเมืองแอฟริกันตะวันออกเคยใช้มดเหล่านี้ในการกำจัดศัตรูพืชที่เข้ามาทำลายพืชผลทางเกษตร หรือกำจัดสัตว์-แมลงที่อยู่ในบ้านเรือน โดยพวกมันจะใช้เวลา 2 วัน ในการกวาดล้างศัตรูพืช ซึ่งระหว่าง 2 วันนี้ เจ้าของบ้านจะต้องย้ายและนำสัตว์เลี้ยงออกไปด้วยเพราะไม่งั้นพวกมันก็กำจัดเจ้าของบ้านด้วยเช่นกัน อีกทั้งหากจำเป็นจริง ๆ บางครั้งชาวมาไซยังใช้แรงกัดมหาศาลของมันในการเย็บปากแผลชั่วคราวได้ด้วย

Fact – เหตุใด ? มดจึงสามารถยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวเองได้ถึง 50 เท่า : คำตอบของเรื่องนี้คือ “อัตราส่วนของพลังกล้ามเนื้อกับน้ำหนักตัว” โดยมดมีน้ำหนัก (Mass) น้อยมากเมื่อเทียบกับพลังกล้ามเนื้อ (Muscle Force) ซึ่งมดมีน้ำหนักเพียง 0.3 มิลลิกรัม แต่กล้ามเนื้อของมันสามารถยกของที่มีน้ำหนัก 20-30 มิลลิกรัมได้ ทว่าในทางกลับกัน การที่เรามีน้ำหนักมากขึ้นแต่พลังกล้ามเนื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น จึงทำให้เราไม่สามารถยกของหนักได้เทียบเท่ามดได้

Fact 2 – มดสามารถเดินต่อกันเป็นแถวได้อย่างไร ? ตอบ : เพราะฟีโรโมนยังไงล่ะ โดยมดจะสื่อสารกันผ่านฟีโรโมน คือเมื่อมดงานออกไปหาอาหารและพบอาหาร – มันจะปล่อยฟีโรโมนออกมาจากปลายท้อง – และระหว่างเดินกลับรังเพื่อไปบอกมดตัวอื่น ๆ ว่าเจออาหารแล้ว – พวกมันจะใช้ส่วนท้องสัมผัสกับพื้นทางเดินไปตลอดเป็นเส้น – ทำให้มดงานตัวอื่น ๆ สามารถเดินตามกลิ่นฟีโรโมนนี้ไปเก็บอาหารได้ เราจึงเห็นพวกมันเดินเรียงแถวอย่างเป็นระเบียบนั่นเอง

Post a Comment

[blogger]

MKRdezign

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget