นอนวันละ 4 ชั่วโมง ตามเหล่าอัจฉริยะ ด้วยการนอนแบบ (Polyphasic)


เชื่อหรือไม่ว่า..เหล่าอัจฉริยะอย่าง ลีโอนาโด ดาวินชี และ นิโคลา เทสลา ใช้เวลานอนเพียงวันละไม่ถึง 3 ชั่วโมง ซึ่งฟังดูบ้าบิ่นแต่การนอนแบบนี้มีจริง มีชื่อเรียกว่า “โพลีเฟซิค” (Polyphasic) หมายถึงการนอนมากกว่าวันละ 2 ครั้ง โดยแบ่งการนอนเป็นช่วง ๆ ในแต่ละวัน ซึ่งชายคนหนึ่ง (ไม่เปิดเผยชื่อ) ได้ทดลองทำตามและนี่คือผลที่เกิดขึ้น..

เล่าให้ฟังก่อนว่า การนอนแบบโพลีเฟซิคนั้นถูกเรียกอย่างเป็นทางการในช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นที่นิยมอย่างมากในยุคนั้นเนื่องจากผู้คนต้องการลดชั่วโมงที่ใช้บนเตียงให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งในทางการแพทย์ระบุว่าคนทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องนอนด้วยวิธีแบบนี้ แต่คนที่ควรนอนแบบนี้ก็คือ หมอ พยาบาล หรืออาชีพอื่น ๆ ที่ชั่วโมงการทำงานและเวลาพักผ่อนไม่ค่อยเหมือนอาชีพทั่วไป

เอาล่ะมาเริ่มการทดลองกัน..โดยชายหนุ่มแบ่งเวลาการนอนดังนี้ คือกลางคืน 4 ชั่วโมง (ช่วงตี 1.30-4.30 น.) และ นอนกลางวัน 25 นาที หลังมื้อเที่ยง (13.10-13.35 น.) และ อีก 25 นาทีหลังกลับถึงบ้าน (20.00-20.25 น.) ซึ่งเขาใช้เวลาทดลองการนอนแบบนี้อยู่นาน 14 วัน ปล.การแบ่งชั่วโมงการนอนไม่มีตายตัวเพียงแต่ในนอนมากกว่าวันละ 2 ครั้งก็พอ (อย่าลืมว่าเป้าหมายคือลดชั่วโมงการนอน)

โดยวันแรกที่เริ่ม เขาระบุว่า “มันน่าทึ่งมาก ผมมีเวลาในการทำกิจกรรมหลายอย่างที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีเวลาได้ทำ เช่นว่ายน้ำ คิดแผนงาน พาหมาไปเดินเล่น แต่หลังตื่นก็ยังง่วงอยู่บ้าง ร่างกายยังไม่ชิน และใช้ความพยายามสูงในการนอนหลับตามเวลาที่กำหนด” ถัดมาในวันที่ 2-3 พบว่า “เวลาของฉันเริ่มไม่ตรงกับเพื่อน คนส่วนใหญ่ไปปาร์ตี้หลังเลิกงาน แต่ฉันต้องไปเตรียมตัวนอน เพราะหากไปปาร์ตี้จะไม่สามารถนอนตามตารางเวลาได้ ซึ่งในวันที่ 2-3 นั้นร่างกายเริ่มเพลีย อ่อนแรง คาดว่าต้องเวลา 2 สัปดาห์กว่าร่างกายจะชินเป็นปกติ”

จนกระทั่งในวันที่ 5 ผลที่ได้น่าตกใจ “ผมตื่นมาแบบสดชื่นมาก ๆ กระปรี้กระเปร่ามากกว่าเดิม มีเวลาว่างเหลือเฝือจะอ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งเล่นเกม และไม่รู้สึกฝืนร่างกายให้นอนหลับอีกต่อไป” การทดลองดำเนินไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันที่ 14 เขาได้ยุติการนอนแบบโพลีเฟซิค และปล่อยให้ร่างกายเลือกเวลาพักผ่อนเอง ผลปรากฎว่าเขาใช้เวลานอนตอนกลางคืนเพียง 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น และเพิ่มเวลานอนตอนกลางวันเป็น 3 ครั้งแทน นั่นหมายความว่า เขามีเวลาในแต่ละวันหากลบเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงออกไป เขาจะมีเวลาว่างสำหรับเวลาส่วนตัวมากถึง 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว (ขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานเท่าเดิม)

สรุป – ข้อดี : สามารถทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่างเสร็จก่อนออกไปทำงาน และเวลาเหลือเฝือจะไปทำสิ่งที่ชอบ แม้แต่เรื่องไร้สาระก็สามารถทำได้ สามารถนอนและตื่นได้โดยไม่ต้องตั้งปลุก กินอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น มีเวลาอ่านหนังสือและออกกำลังกาย ข้อเสีย : ปรับตัวยากมากในช่วงแรก ลืมวันเวลาสนเพียงแค่กลางวัน-กลางคืนเท่านั้น อดไปปาร์ตี้หรือเที่ยวกลางคืน เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำลายตารางเวลานอนที่วางไว้

Fact – ปรากฏการณ์ “Sleepy Hollow” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2013 กับหมู่บ้านกาลัคชี อยู่ทางตอนเหนือของประเทศคาซัคสถาน ที่จู่ ๆ ผู้คนในหมู่บ้านกว่า 160 คน ถูกหามส่งโรงพยาบาล หลังมีคนพบว่าพวกเขานอนหลับเป็นเวลานานมากกว่า 2 วัน บางคนหนักสุด 6 วันเลยก็มี แต่พอพวกเขาตื่นขึ้นมากลับจำอะไรไม่ได้ มึนงง ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จนกระทั่งในปี 2015 นักวิจัยพบสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่ามาจาก เหมืองยูเรเนียมที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองแห่งนี้เพียงไม่กี่กิโลเมตร พบปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอนอยู่ในอากาศมากกว่าปกติ และเมื่อเข้าไปตรวจสอบที่เหมืองเก่าก็พบว่า มีค่ากัมตรังสีสูงกว่าปกติถึง 16 เท่า เป็นเหตุให้ชาวบ้านต่างพากันหมดสติไปนั่นเอง

Post a Comment

[blogger]

MKRdezign

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget