“มารี คูรี” (Marie Curie) ผู้คิดค้นรังสีรักษามะเร็ง


มารี คูรี (Marie Curie) หรือที่รู้จักกันในนาม “มารดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่” เธอเป็นนักเคมีฟิสิกส์ที่ค้นพบธาตุเรเดียมและโพโลเนียม อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีที่ต่อมาถูกพัฒนามาใช้รักษามะเร็งในปัจจุบัน ซึ่งตลอดช่วงชีวิตเธอคลุกคลีอยู่กับสารเคมีจนทำให้ร่างกายและทรัพย์สินของเธอปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีไปอีกนานกว่า 1,500 ปี กว่าจะจางหายไป

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1867 มารีเกิดที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เธอเติบโตมาในครอบครัวที่พ่อเป็นนักฟิสิกส์และแม่เป็นครูคณิตศาสตร์ มารีเคยศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างมาก จนกระทั่งการจากไปของแม่ที่ทำให้เธอต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าอย่างหนักและไม่เชื่อในความเมตตาของพระเจ้าอีกต่อไป นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอหันหน้าเข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง

ในปี ค.ศ.1894 มารีย้ายจากโปแลนด์มาอยู่ฝรั่งเศส และได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนในสาขาวิทยาศาสตร์ การมาเรียนที่นี่ทำให้เธอได้พบกับ ปิแอร์ คูรี (Pierre Curie) นักวิจัยผู้เคยได้รับรางวัลไซเอนซิเอต (Scienciate Award) และสนใจเรื่องแม่เหล็กเหมือนกับเธอ ต่อมาทั้งคู่คบหาดูใจและแต่งงานกันในปี ค.ศ.1895

ในปีเดียวกัน วิลเฮล์ม โรนท์เจน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ค้นพบรังสีเอ็กซ์ ทำให้ทั้งคู่สนใจเกี่ยวกับการแผ่รังสีอย่างมาก ซึ่งในเวลานั้นเพื่อนคนสนิทของปีแอร์ ค้นพบปรากฏการณ์การแผ่รังสีจากแร่ยูเรเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติทะลุทะลวงเช่นเดียวกับรังสีเอกซ์ แต่ว่าการแผ่รังสีจากแร่ยูเรเนียมนั้นไม่ได้มีปฏิกิริยาอะไรทางเคมี ซึ่งทั้งคู่ศึกษาลงลึกไปถึงแหล่งที่มา จนกระทั่งในปี ค.ศ.1898 พวกเขาพบธาตุกัมมันตรังสีชนิดใหม่ โดยตั้งชื่อมันว่า “โพโลเนียม” (Polonium) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศโปแลนด์ บ้านเกิดของมารี ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งคู่ยังพบธาตุอีก 1 ชนิดที่ทรงพลังมากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า นั้นคือ ธาตุเรเดียม (Radium) ที่มีคุณสมบัติที่สามารถส่องผ่านเนื้อหนังของมนุษย์ได้ด้วย

โดยการค้นพบดังกล่าวทำให้ในปี ค.ศ.1903 พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ แต่ทว่า 3 ปีต่อมา ปิแอร์ คูรี ต้องจากไปด้วยอุบัติเหตุจากรถม้า ส่งผลให้เธอต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง แต่มารีก็ยังไม่ย่อท้อต่อการศึกษาธาตุเรเดียมต่อไป จนในปี ค.ศ.1911 เธอพบว่ามันสามารถนำมาฉายแสงเพื่อรักษาโรคได้ และการค้นพบนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี (เป็นผู้หญิงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 สาขา)

เธอใช้เวลาตลอดชีวิตอยู่กับธาตุกัมมันตรังสี จนกระทั่งเธอต้องป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และในวันที่ 4 กรกฎาคม ปี ค.ศ.1934 มารีก็เสียชีวิตลง ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 100 ปีมาแล้ว แต่ทรัพย์สิน หนังสือ เสื้อผ้า และกระดูกของเธอยังปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจำนวนมาก ทำให้ข้าวของทั้งหมดถูกบรรจุลงในกล่องที่บุด้วยตะกั่วแน่นหนาเพื่อกักเก็บและป้องกันสารกัมตภาพเหล่านั้นไม่ให้รั่วไหลออกมา ปัจจุบันถูกจัดเก็บอยู่ที่หอสมุด Bibliotheque National ส่วนกระดูกของเธอถูกฝังอยู่ในวิหารแพนธีออน ในกรุงปารีส

Post a Comment

dragon gaming wallet เกมออนไลน์ ในลักษณะของการเล่น แบบใหม่ pg slot ที่เล่นแล้ว ได้เงินจริง เล่นแล้ว ร่ำรวยในทันทีทันใด ลงทะเบียน สมัครสมาชิกใหม่ เริ่มที่เพียงแต่ 100 บาท

[blogger]

MKRdezign

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget