เทคนิคการจำแบบ“เชอร์ล็อค โฮล์มส์” (Sherlock Holmes)


นักวิจัยค้นพบวิธีการฝึกความจำแบบ “เชอร์ล็อค โฮล์มส์” (Sherlock Holmes) ที่ช่วยให้เราจำข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ มีชื่อเรียกว่า “วิธีจำแบบโลไซ” (Method of Loci) หรือที่เรียกกันว่า “Memory Palace” วิธีนี้ถูกใช้กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ (ราว 450 ปีก่อน)

โดยวิธีจำแบบโลไซนั้น คือ การที่เรา ‘ฝาก’ ความจำไว้ในสถานที่ที่คุ้นเคย โดยให้จดจำเป็นเส้นทาง เช่น ต้องการจำคำศัพท์ 10 คำ ให้จินตนาการว่า เสมือนเรานำคำศัพท์ทั้ง 10 คำนี้ ไปแปะไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้าน (แบบเป็นเส้นทาง) คือ ศัพท์คำแรกถูกแปะไว้ที่ทางเข้าประตู ศัพท์คำที่สองถูกแปะไว้ที่ลูกบิดประตู ศัพท์คำที่สามถูกแปะไว้ที่บันได เรียงลำดับไปเป็นต้น

อิซาเบลลา แวกเนอร์ นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยเวียนนาและแชมป์การแข่งขันทดสอบความจำระดับโลก (World Memory Championships) พิสูจน์แล้วและยืนยันด้วยตนเองว่ามันได้ผลจริง โดยเธอได้ทำการทดลองกับผู้เข้าร่วมการทดลองทั้ง 50 คน แบ่งเป็น 17 คน ที่เข้ารับการฝึกจำแบบโลไซ, 16 คนฝึกจำด้วยเทคนิคอื่น และอีก 17 คนไม่ฝึกอะไรเลย ซึ่งทั้ง 50 คนนี้ มีอายุและสติปัญญาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดด้วยการตรวจวัดสมองคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (fMRI)

เริ่มการทดลอง – ผู้เข้าร่วมการทดลองจะได้รับแบบฝึกหัดให้จำคำศัพท์ทั้งหมด 80 คำ หลังท่องจำเสร็จ ผ่านไป 20 นาที ผลปรากฎว่า ผู้ที่ฝึกจำแบบโลไซจำศัพท์ได้ 62 คำ ผู้ที่ฝึกจำแบบวิธีอื่นจำได้ 41 คำ และผู้ที่ไม่ได้ฝึกเลยจำได้ 36 คำ ต่อมาหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง คำศัพท์เหล่านั้นถูกถามอีกครั้ง ผลคือ ผู้ที่ฝึกจำแบบโลไซจำได้ 56 คำ เทียบกับผู้เข้าร่วมทดลองอีก 2 กลุ่ม ที่จำได้ 30 คำ และ 21 คำ ตามลำดับ 

แต่การทดลองแบบนี้ ดูเหมือนจะเป็นการทดสอบความจำระยะสั้นเท่านั้น ทำให้อิซาเบลลาอยากรู้ว่าเทคนิคนี้จะช่วยพัฒนาความจำระยะยาวได้หรือไม่ เลยทดสอบความจำของพวกเขาทั้ง 50 คนอีกครั้งหลังผ่านไป 4 เดือน พบว่า กลุ่มที่จำแบบโลไซสามารถจำคำศัพท์ได้ 50 คำ มากกว่าอีก 2 กลุ่ม ที่จำได้ 30 และ 27 คำตามลำดับ ซึ่งผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการจำแบบโลไซนั้น ช่วยพัฒนาทั้งความจำระยะสั้นและระยะยาว

นอกจากนี้ ผลการสแกนสมองรอบ 2 จากเครื่อง fMRI ปรากฏว่า ผู้ที่ฝึกวิธีจำแบบโลไซมีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกันเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ความจำดีขึ้น) มันบ่งบอกถึงการทำงานของสมองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ อิซาเบลลา กล่าวทิ้งท้ายว่า “ยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาแน่ชัดว่าการจำแบบนี้ช่วยให้สมองทำงานดีขึ้นกว่าเดิมจริงหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนสามารถฝึกให้มีความจำดีแบบเชอร์ล็อคโฮล์มส์ด้วยวิธีเดียวกันนี้ได้จริง ๆ นะ”

Fact – รู้หรือไม่ว่า “การถึงจุดสุดยอด” ช่วยให้เราฉลาดขึ้นได้จริง ๆ เพราะทุกครั้งที่เสร็จจะมีเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองมากกว่าปกติ เคยมีการวิจัยพบว่าวิธีนี้สามารถบริหารสมองได้ดีกว่าการเล่น Cross Words หรือปริศนาอักษรไขว้ เสียอีก

Post a Comment

[blogger]

MKRdezign

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.
Javascript DisablePlease Enable Javascript To See All Widget